Our treatments

Office Syndrome

Office Syndrome (Office Syndrome) หมายถึง อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome) เป็นอาการที่เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการอักเสบและปวดเมื่อยในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ บ่า สะบัก หลัง แขน และข้อมือ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยที่มีลักษณะการทำงานหรือกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนและหากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้

สาเหตุการเป็นออฟฟิศซินโดรม

1. การทำงานในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม

  • ทำงานเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนท่าทาง
  • นั่งไขว่ห้าง นั่งขัดสมาธิ นั่งชันเข่า
  • โต๊ะทำงานหรือพื้นที่ทำงาน ที่ไม่เหมาะสม
  • ก้มหรือยื่นคอเพื่อมองให้ชัดเจนขึ้น

2. การใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ

  • การพิมพ์งานหรือใช้เมาส์ตลอดทั้งวัน
  • การยกของหนักหรือการเคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำ ๆ
  • ท่านั่งที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนัก

3. การทำงานของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ

  • กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่นจากการทำเดิมอิริยาบถซ้ำ ๆ
  • กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงและความทนทาน
  • กล้ามเนื้อขาดความสมดุลกัน

สาเหตุการเป็นออฟฟิศซินโดรม

  • มีจุดปวดลึกหรือปมของกล้ามเนื้อ (Trigger Points)
  • ปวดตึงกล้ามเนื้อร่วมกับอาการร้าวไปบริเวณอื่น
  • ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะร่วมด้วย
  • มีอาการชา อ่อนแรง หรือรู้สึกเจ็บในบางจุด หากมีการกดทับของปลายประสาท

วิธีรักษาและบรรเทาอาการ

1. Physical therapy:

  • ลดอาการปวดด้วยเครื่องมือ (Pain Management) : เช่น การกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทเพื่อลดอาการปวดด้วยPeripheral Magnetic Stimulation (พีเอ็มเอส)
  • ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อด้วยLaser Therapy
  • ลดอาการปวดและตึงตัวด้วยการกดคลายหรือยืดกล้ามเนื้อ
  • ประคบอุ่นหรือเย็นในบริเวณกล้ามเนื้อที่มีปัญหา
  • ออกกำลังกายเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อให้เพียงพอต่อการใช้งาน

2. การปรับท่าทางการทำงาน

  • จัดตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา
  • ใช้เก้าอี้ที่รองรับหลังและปรับความสูงให้เหมาะสม
  • ลุกขึ้นเปลี่ยนท่าทางหรือยืดเหยียดทุก ๆ 30 นาที

3. การออกกำลังกายเป็นประจำ

  • ฝึกโยคะหรือพิลาทิสเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
  • เสริมสร้างกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core Muscle)

4. การรักษาแพทย์ทางเลือก

  • ฝังเข็มแผนปัจจุบัน: เพื่อคลายกล้ามเนื้อในจุดที่มีอาการปวดหรือเกร็ง
  • ฝังเข็มแผนจีน: เพื่อเพิ่มการไหล่เวียนของเลือดและปรับสมดุลร่างกาย
  • การปรับสมดุลและลดภาวะตึงเครียดด้วยPeripheral Magnetic Stimulation(พีเอ็มเอส)

วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม

  • จัดพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม: ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยรองรับสรีระ เช่น เก้าอี้ที่รองรับหลังหรือแป้นพิมพ์ที่ออกแบบมาเพื่อสุขภาพ
  • พักเบรกระหว่างทำงาน: หลีกเลี่ยงการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน พักสายตาและเปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมง
  • ดูแลสุขภาพโดยรวม: รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

Conclusion
ออฟฟิศซินโดรมเป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม หากคุณสังเกตเห็นอาการที่เข้าข่าย ควรเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและใส่ใจสุขภาพตั้งแต่วันนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบระยะยาวและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างยั่งยืน

Our Testimonials

Don’t let the pain take away your smile.